กรุณาเลือกผู้ใช้งานเพื่อเข้าสู่ระบบ:

โทรศัพท์ +66 7428 7841

โทรสาร +66 7428 7890

ติดตามเรา

  • ไทย
  • อังกฤษ

เข้าสู่ระบบ

สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Innovation Club Room

Innovation Club Room (FMS 3302)

          ตั้งอยู่อาคารวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้เพื่อการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีขนาดห้อง กว้าง  11 เมตร ยาว 13.50 เมตร พื้นที่รวม 148.5 ตารางเมตร ได้รับงบสนับสนุนจากธนาคารออมสินซึ่งมีพันธกิจสำคัญในการสนับสนุน ส่งเสริมเศรษฐกิจตามนโยบายของรัฐบาล ประกอบกับรัฐบาลได้วางรากฐานในการพัฒนาประเทศไทยสู่ยุค Thailand 4.0 ธนาคารจึงจาเป็นต้องสร้างฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ คือ นักศึกษา และเยาวชน ที่สนใจพัฒนาตนเองเป็นผู้ประกอบการ SMEs Startup ให้มีความเข้มแข็ง และตอบสนองนโยบายรัฐบาล พร้อมสนับสนุนและส่งเสริมธุรกิจ SMEs Startup ให้สามารถดาเนินธุรกิจ และเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยนวัตกรรม เพื่อมุ่งสู่ Thailand 4.0 ได้อย่างยั่งยืน

          เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการสร้างผู้ประกอบการ ที่สามารถดาเนินธุรกิจแนวใหม่ โดยการปลูกฝังตั้งแต่ระดับมหาวิทยาลัย เพื่อให้เป็น Mass SME และ National Startup ได้ตามความมุ่งหวังของรัฐบาล และเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ธุรกิจ SMEs Startup อย่างครบวงจร ฝ่ายพัฒนาธุรกิจลูกค้าผู้ประกอบการ SMEs Startup จึงกำหนดจัดโครงการ GSB Innovation Club ภายใต้วิสัยทัศน์ การเป็นผู้นาในการเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ธุรกิจ SMEs Startup อย่างยั่งยืน โดยตั้งเป็น Co-Working Space ในมหาวิทยาลัย มีการกำหนดโจทย์ให้นักศึกษาคิดค้นนวัตกรรม และสื่อสารผ่านช่องทาง Social Media โดยมุ่งให้การสนับสนุนกลุ่มคนรุ่นใหม่ นักเรียน นักศึกษา ที่มีความสนใจเริ่มธุรกิจ ให้มีพื้นที่แห่งการเรียนรู้ การสร้างสรรค์นวัตกรรม แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และสร้างเครือข่ายธุรกิจ

วัตถุประสงค์
  1. เพื่อมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของธนาคาร มหาวิทยาลัย นักศึกษา และสถาบันวิจัยต่างๆตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฯ 
  2. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มคนรุ่นใหม่ นักเรียน นักศึกษาให้มีพื้นที่แห่งการเรียนรู้ การสร้างสรรค์นวัตกรรม แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และสร้างเครือข่ายธุรกิจ 
  3. เพื่อเป็นการส่งเสริมให้นักศึกษาได้สร้างสรรค์ผลงาน และสามารถนาแนวคิดจากผลงานการประกวดไปประยุกต์ใช้ต่อไปได้จริง 
  4. เพื่อให้นักศึกษา ได้มีโอกาสในการก่อตั้ง Smart Startup Company by GSB Startup เพื่อดาเนินธุรกิจจนประสบความสำเร็จ ตั้งแต่ขณะศึกษาอยู่ในระดับมหาวิทยาลัย
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ทำให้เกิดการการเรียนรู้ การสร้างสรรค์นวัตกรรม แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และสร้างเครือข่ายธุรกิจ 
  2. นักศึกษาได้มีแนวคิดสร้างสรรค์ไอเดีย นวัตกรรม และสามารถนาแนวคิดนั้นไปประยุกต์ใช้ต่อไปได้จริง 
  3. นักศึกษาได้มีโอกาสในการดาเนินธุรกิจจนประสบความสำเร็จตั้งแต่ขณะศึกษาอยู่ในระดับมหาวิทยาลัย

กิจกรรม Innovation Club by GSB Startup

วัตถุประสงค์
  1. มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของธนาคาร มหาวิทยาลัย นักศึกษา และสถาบันวิจัยต่างๆตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฯ 
  2. เพื่อเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้และสร้างสรรค์นวัตกรรม 
  3. เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และการสร้างเครือข่ายธุรกิจ Startup 
  4. เป็นพื้นที่สาหรับการจัดกิจกรรมต่างๆ ในโครงการ GSB Innovation Club
ลักษณะโครงการ
          ธนาคารออมสิน ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยที่มีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือจัดตั้ง Innovation Club by GSB Startup โดยมหาวิทยาลัยทำหนังสือแจ้งความประสงค์ขอเข้าร่วมกิจกรรมพร้อมใบสมัครเข้าร่วมโครงการ GSB Innovation Club (เอกสารแนบ 1) และ รายละเอียดข้อมูลงบประมาณโดยแนบภาพถ่ายพื้นที่ พร้อมระบุขนาดพื้นที่โดยประมาณ (สำหรับใช้ในการออกแบบตกแต่งสถานที่) และภาพถ่ายอุปกรณ์ที่ต้องการประกอบ ธนาคารให้การสนับสนุนเงินทุน ดังนี้
  1. ค่าตกแต่งสถานที่และอุปกรณ์ภายในห้อง Innovation Club
    จำนวนเงินไม่เกิน 500,000.- บาท 
  2. ค่าบริหารจัดการพื้นที่
    จำนวนเงิน 100,000.- บาท ต่อปี
แผนการดำเนินงาน

1. ธนาคารออมสินร่วมมือกับมหาวิทยาลัย จัดตั้ง Innovation Club by GSB Startup ในมหาวิทยาลัย 20 แห่ง โดยธนาคารออมสินเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณในการจัดทาพื้นที่ ค่าอุปกรณ์ตกแต่งสถานที่ พร้อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และมหาวิทยาลัยเป็นผู้นำงบประมาณที่ธนาคารออมสินให้การสนับสนุนไปใช้ในการจัดทาพื้นที่ Innovation Club by GSB Startup ตามที่ได้ตกลงกับธนาคารออมสินให้บรรลุวัตถุประสงค์และเกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งสนับสนุนด้านบุคลากรในการจัดกิจกรรมและดูแลพื้นที่ Innovation Club by GSB Startup

2. ธนาคารออมสินร่วมกับมหาวิทยาลัยจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ธุรกิจของธนาคาร และเปิดตัว Innovation Club by GSB Startup โดยแต่ละมหาวิทยาลัยต้องคิดรูปแบบการเปิดพื้นที่และดาเนินการจัดงาน เปิดพื้นที่ Innovation Club by GSB Startup ภายในสิ้นปีที่ลงนามในใบสมัครเข้าร่วมกิจกรรมกับธนาคาร

4. ธนาคารออมสินจัดกิจกรรม Smart Start Idea by GSB Startup และ Smart Startup Company by GSB Startup เพื่อส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการในระดับมหาวิทยาลัย 

3. มหาวิทยาลัยจัดกิจกรรมส่งเสริมการใช้พื้นที่ เช่น จัดให้มีเจ้าหน้าที่ของธนาคารในการให้คาปรึกษาด้าน สินเชื่อ หรือบริการอื่นๆ ของธนาคารเป็นประจาภายในพื้นที่ Innovation Club by GSB Startup หรือเชิญนัก ธุรกิจชั้นนา หรือผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จมาถ่ายทอดประสบการณ์อย่างต่อเนื่อง

คุณสมบัติหน่วยงาน/มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมกิจกรรม
  1. เป็นหน่วยงานหรือมหาวิทยาลัยที่มีข้อตกลงความร่วมมือฯ กับธนาคารออมสิน 
  2. มีความพร้อมด้านสถานที่สาหรับจัดตั้ง Innovation Club by GSB Startup 
  3. มีการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่หรือทีมงาน ดาเนินกิจกรรม Innovation Club by GSB Startup 
  4. หน่วยงานหรือมหาวิทยาลัย ที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรม Innovation Club by GSB Startup ต้องเปิด บัญชีธนาคารออมสิน ชื่อบัญชี “GSB Innovation Club – ชื่อมหาวิทยาลัย” เพื่อรับเงินทุนสนับสนุนกิจกรรม ภายใต้โครงการ GSB Innovation Club ของธนาคารออมสิน
ดัชนีชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
          มีนักศึกษาหรือผู้ประกอบการ เข้ามาใช้บริการห้อง Innovation Club by GSB Startup เกิดการสร้างสรรค์ นวัตกรรม
หน้าที่ความร่วมมือมุ่งสู่ความสำเร็จของโครงการ หน้าที่ความร่วมมือของ “ธนาคาร”
  1. จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ รวมถึงหาแนวทางการดาเนินกิจกรรมร่วมกับมหาวิทยาลัย 
  2. ธนาคารให้เงินสนับสนุนการตกแต่งสถานที่พร้อมอุปกรณ์ภายใน Innovation Club by GSB Startup ไม่เกินแห่งละ 500,000 บาท (จานวน 20 แห่ง) 
  3. ธนาคารให้เงินสนับสนุนสาหรับการบริหารจัดการพื้นที่ 100,000.- บาท ต่อปี (จานวน 20 แห่ง) 
หน้าที่ความร่วมมือของ “มหาวิทยาลัย”
  1. มอบพื้นที่ให้ธนาคารดาเนินกิจกรรม Innovation Club by GSB Startup 
  2. จัดทาพื้นที่ Innovation Club by GSB Startup ตามที่ได้ตกลงกับธนาคารออมสินให้บรรลุวัตถุประสงค์ และเกิดประโยชน์สูงสุด 
  3. ประชาสัมพันธ์ กิจกรรม Innovation Club by GSB Startup เพื่อให้นักศึกษาได้เข้ามาใช้พื้นที่ ในการ ทากิจกรรมและสร้างสรรค์ผลงาน 
  4. ควบคุมการใช้สถานที่และการใช้งานอุปกรณ์ภายใน Innovation Club by GSB Startup 
  5. จัดกิจกรรมภายใน Innovation Club by GSB Startup เช่น เชิญนักธุรกิจชั้นนา หรือผู้ประกอบการที่ ประสบความสำเร็จมาถ่ายทอดประสบการณ์อย่างต่อเนื่อง
หน้าที่ความร่วมมือของ “นักศึกษา”
  1. เป็นสมาชิกภายใน Innovation Club by GSB Startup โดยการเป็น Fanpage : GSB SMEs Startup 
  2. ใช้พื้นที่ Innovation Club by GSB Startup ในการทากิจกรรมและสร้างสรรค์ผลงาน 
  3. เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นภายใน Innovation Club by GSB Startup
หลักเกณฑ์การคัดเลือกและการสนับสนุน
  1. คัดเลือกหน่วยงานหรือมหาวิทยาลัย เพื่อเข้าร่วมกิจกรรม Innovation Club by GSB Startup จานวน 20 แห่ง ภูมิภาคละไม่เกิน 5 แห่ง โดยคัดเลือกจากหน่วยงานหรือมหาวิทยาลัยที่มีความพร้อมในการดาเนิน กิจกรรมก่อน ธนาคารออมสินขอสงวนสิทธิในการคัดเลือกมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมกิจกรรม Innovation Club by GSB Startup ผลการคัดเลือกของธนาคารออมสินถือเป็นที่สิ้นสุด 
  2. ธนาคารออมสินจะสนับสนุนงบประมาณในการจัดทาพื้นที่ อุปกรณ์ตกแต่งสถานที่ พร้อมอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ รวมแห่งละไม่เกิน 500,000.- บาท โดยธนาคารออมสินจะกำหนดงบประมาณในการจัดทาพื้นที่ Innovation Club by GSB Startup ภายหลังจากมีการลงสำรวจพื้นที่ที่มหาวิทยาลัยจัดสรรให้ ซึ่งจะพิจารณา จากพื้นที่ที่มหาวิทยาลัยจัดสรร รายละเอียดข้อมูลงบประมาณและแผนปฏิบัติงานในการจัดทาและตกแต่งพื้นที่ ตามที่ระบุในใบสมัครที่มหาวิทยาลัยส่งเข้ามา ผลการพิจารณาจัดสรรงบประมาณของธนาคารออมสินถือเป็นที่ สิ้นสุด 
  3. หลังจากที่ธนาคารออมสินได้ทาการคัดเลือกและกำหนดงบประมาณในการจัดทาพื้นที่ Innovation Club by GSB Startup เรียบร้อยแล้ว มหาวิทยาลัยจะต้องดาเนินการจัดทาหนังสือจัดสรรพื้นที่และขอความ อนุเคราะห์สนับสนุนเงินงบประมาณในการจัดทาพื้นที่ Innovation Club by GSB Startup เข้ามายังธนาคารออมสิน อีกครั้ง โดยรายละเอียดในหนังสือจะต้องแจ้งสถานที่ที่จัดสรรให้แก่ธนาคารในการดาเนินกิจกรรม Innovation Club by GSB Startup และขอสนับสนุนเงินงบประมาณเข้ามาตามที่ธนาคารออมสินแจ้ง พร้อมแนบตาราง รายละเอียดงบประมาณที่มหาวิทยาลัยจะใช้ในการจัดทาพื้นที่และภาพถ่ายพร้อมออกแบบพื้นที่ Innovation Club by GSB Startup พร้อมแผนปฏิบัติงานในการจัดทาและตกแต่งพื้นที่เข้ามายังธนาคารออมสินอีกครั้ง เพื่อให้ธนาคาร อนุมัติงบประมาณให้แก่มหาวิทยาลัยต่อไป 
  4. ธนาคารจะมอบเงินสนับสนุนในการบริหารจัดการ จานวนแห่งละ 100,000.- บาท ในลักษณะปีต่อปี โดยหน่วยงานหรือมหาวิทยาลัยจะต้องเสนอแผนปฏิบัติการในการใช้พื้นที่ Innovation Club by GSB Startup ให้ธนาคารเห็นชอบ เพื่อขอรับเงินสนับสนุนในการบริหารจัดการ จานวน 100,000.- บาท ในปีต่อไป
วิธีการให้เงินสนับสนุน

          สำหรับเงินสนับสนุนการตกแต่งสถานที่พร้อมอุปกรณ์ภายใน Innovation Club by GSB Startup ไม่เกินแห่งละ 500,000.- บาท และเงินสนับสนุนในการบริหารจัดการ 100,000.- บาท ธนาคารออมสินจะโอนเงินเข้าบัญชีของธนาคารออมสินซึ่งมหาวิทยาลัยจะต้องเปิดบัญชีกับธนาคารออมสินประเภทเผื่อเรียก (สาขาใกล้เคียง มหาวิทยาลัย) เพื่อรับโอนเงินสนับสนุนดังกล่าว ตามรายละเอียดดังนี้ 

  1. เปิดบัญชีประเภทเผื่อเรียก ชื่อบัญชี “GSB Innovation Club – ชื่อมหาวิทยาลัย” เอกสาร ประกอบการเปิดบัญชี (เอกสารแนบ 2) 
  2. แต่งตั้งผู้มีอำนาจลงนามในการเบิกถอนเงิน จานวน 3 คน โดยมีเงื่อนไขการลงนามเบิกถอนเงิน ลงนาม ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ท่าน 
  3. หลังจากเปิดบัญชีเรียบร้อยแล้ว ให้ทางมหาวิทยาลัยส่งเอกสาร แบบฟอร์มแจ้งบัญชี (เอกสารแนบ 3) ทาง E-mail : Department.SSBD@gsb.or.th และทางไปรษณีย์ (ที่อยู่จัดส่งเอกสาร: ฝ่ายพัฒนาธุรกิจลูกค้า ผู้ประกอบการ SMEs Start up อาคาร 17 ชั้น 1 ธนาคารออมสินสานักงานใหญ่ 470 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400)
หลักฐานประกอบการสมัคร
  1. แบบฟอร์มใบสมัครเข้าร่วมโครงการ GSB Innovation Club (เอกสารแนบ1) 
  2. หนังสือแต่งตั้งเจ้าหน้าที่หรือทีมงานในการดาเนินกิจกรรม Innovation Club by GSB Startup 
  3. หนังสือจัดสรรพื้นที่และขอความอนุเคราะห์สนับสนุนเงินงบประมาณในการจัดทาพื้นที่ Innovation Club by GSB Startup 
  4. ข้อมูลพื้นที่ในการจัดทากิจกรรม Innovation Club by GSB Startup แนบภาพถ่ายพื้นที่ พร้อมระบุขนาดพื้นที่ 
  5. รายละเอียดงบประมาณในการจัดทาพื้นที่ 
  6. แผนปฏิบัติงานในการจัดทาและตกแต่งพื้นที่ Innovation Club by GSB Startup (Timeline)